fbpx

พาชม 7 มรดกโลก ทางธรรมชาติของไทย

มรดกโลกสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือมรดกทางวัฒนธรรม และมรดกทางธรรมชาติ ซึ่งมรดกโลกทางธรรมชาติของไทย ก็มีทั้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว มีที่อยู่ในรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) สถานที่ที่อาจจะเสนอชื่อ และสถานที่ที่เคยได้รับการเสนอชื่อไปแล้ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของไทย จะเป็นที่ยังรอการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติอยู่นั่น ก็ล้วนมีเสน่ห์และเรื่องราวน่าสนใจในตัวเองกันทั้งสิ้น

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง

1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งเป็น 1 แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของไทย ซึ่งนับว่าเป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นพืชพันธุ์ที่มีความหลากหลาย อีกทั้งยังแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หายาก และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อีกหลายชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงรูปด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ เป็นต้น

สถานะการเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2534 ถือเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่เป็นเป็นมรดกโลก

ข้อมูลทั่วไป

  • ครอบคลุมเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี ตาก และกาญจนบุรี
  • ติดต่อได้ที่เพจเฟสบุ๊คเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือ เบอร์ 06-5480-1138
  • เปิดทำการทุกวันยกเว้นวันนักขัตฤกษ์ ในเวลา 06.30 น. – 15.30 น.
  • ค่าธรรมเนียมเข้าชม ผู้ใหญ่  20 บาท เด็ก 10 บาท

กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

2. กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติของไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากถึง 6,152.13 ตารางกิโลเมตร สำหรับกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่นั้นประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เป็นผืนป่าที่มีความสำคัญกับระบบนิเวศ ทั้งเป็นป่าต้นน้ำที่เป้นแหล่งน้ำของชุมชน และเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์หลายชนิด ที่มีคุณค่าโดดเด่นหาที่อื่นไม่ได้ 

สถานะการเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของไทยที่มีคุณค่า เชิงวิทยาศาสตร์ และเชิงอนุรักษ์ระดับโลก

ข้อมูลทั่วไป

  • กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระบุรี นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์
  • ติดต่อได้ที่เพจเฟสบุ๊คอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ หรือ เบอร์ 08-6092-6529
  • เปิดทำการทุกวันยกเว้นวันนักขัตฤกษ์ ในเวลา 08.00 น. – 16.30 น.
  • ค่าธรรมเนียมเข้าชม ผู้ใหญ่  40 บาท เด็ก 20 บาท

กลุ่มป่าแก่งกระจาน

3. กลุ่มป่าแก่งกระจาน

กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาตะนาวศรีที่มีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ทั้งพืชพันธุ์และสัตว์ป่าที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเป้นแหล่งที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำจืดในประเทศไทยอีกด้วย

สถานะการเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของไทย ลำดับที่ 3 ซึ่งเพิ่งขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมื่อไม่นานนี้ในเดือน กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา

ข้อมูลทั่วไป

  • มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
  • ติดต่อได้ที่เพจเฟสบุ๊คอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน หรือ เบอร์ 0-3277-2311
  • เปิดทำการทุกวันยกเว้นวันนักขัตฤกษ์ ในเวลา 08.00 น.- 16.30 น.
  • ค่าธรรมเนียมเข้าชม ผู้ใหญ่ 100 บาท, เด็ก 40 บาท ค่ารถยนต์ 30 บาท/คัน

แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน

4. แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน

แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เป็นแหล่งอรุรักษณ์พืชริมทะเลและสัตว์ทะเลที่สำคัญในไทย ไม่ว่าจะเป็นเต่าทะเล หอย รวมถึงป่าโกงกาง ซึ่งแหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันนั้นสามารถแบ่งส่วนประกอบไปเป็นอุทยานย่อยอีก 6 แห่ง และมีบางส่วนที่เชื่อมต่อกับป่าชายเลนจังหวัดระนองด้วย

สถานะการเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันนั้นยังไม่ได้ขึ้นเป็นมรดกทางธรรมชาติของไทย แต่บรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 16 – 31 ก.ค. 2564 ซึ่งจะสามารถถูกผลักดันให้พื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามันเป็นมรดกโลกในต่อไป

ข้อมูลทั่วไป

แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันประกอบด้วย 6 อุทยานแห่งชาติ ได้แก่

  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา ประกอบไปด้วยหมู่เกาะขนาดเล็ก 9 เกาะ ตามความหมายของคำว่า “สิมิลัน” ที่เป็นภาษามลายูแปลว่า เก้า ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่มีสัตว์ทะเลหายาก เช่น วาฬ ปลาไหลมอเรย์ และโลมา รวมถึงมีแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึกที่สวยงาม จนได้รับการยกย่องให้เป็นอีกเกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและในน้ำ 
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง จ.ระนอง มีพื้นที่บางส่วนเป็นป่าชายเลน เป็นชายหาด ป่าดงดิบ และมีส่วนที่เป็นปะการังในแถบที่ใกล้ชายฝั่งออกไป ซึ่งป่าชายเลนนี่ยังเป็นเขตสงวนชีวมลฑลโลกซึ่งเป็นแห่งที่ 4 ของประเทศไทย
  • อุทยานแห่งชาติแหลมสน อยู่ในระหว่าง จ.ระนอง และ จ.พังงา ลักษณะเป็นชายฝั่งจมตัว ซึ่งก่อให้เกิดชายหาดตลอดแนวฝั่งแคบ มีลำน้ำสายสั้นขนาดเล็กจำนวนมาก ที่จะพัดพาดินมาทับถมตามปากแม่น้ำ และชายฝั่ง ทำให้เกิดเป็นป่าโกงกาง
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ มีธรรมชาติบนบกและในทะเลที่สมบูรณ์ มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลนมาประจบกับแนวปะการัง เหมาะสำหรับชมปะการังน้ำตื้น
  • อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จ.พังงา แบ่งออกได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนเขาลำปีทางฝั่งตะวันออก และ ส่วนหาดท้ายเหมืองทางฝั่งตะวันตก ทั้งสองส่วนล้วนมีพันธุ์ไม้และพันธุ์สัตว์ที่หลากหลาย 
  • อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต มีจุดเด่นในระบบนิเวศหลากหลาย เช่น หาดทรายสีขาว แนวปะการังที่งดงาม ป่าสนทะเลธรรมชาติ แหล่งวางไข่ของเต่าทะเล จักจั่นทะเลจำนวนมาก และหอยทะเลที่หายากหลากหลายพันธุ์

ผืนป่าฮาลา-บาลา

5. ผืนป่าฮาลา-บาลา

ผืนป่าฮาลา-บาลา เป็นป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่มีภูเขาเรียงสลับซ้อนตัวกันเป็นทิวแถวที่สวยงาม ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่านี้ทำให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครองหลายชนิด โดยเฉพาะนกเหงือกที่พบในผืนป่านี้ถึง 10 ชนิดด้วยกัน ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่มาก เมื่อเทียบกับชนิดของนกเงือกในประเทศไทยที่พบได้ 13 ชนิด 

สถานะการเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

ผืนป่าฮาลา-บาลาเป็นผืนป่าดิบชื้นที่มีความสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวพันธุ์ แม้จะยังไม่ได้ขึ้นเป็นมรดกทางธรรมชาติของไทย แต่ผืนป่าฮาลา-บาลาอยู่ในรายชื่อสถานที่ที่อาจเสนอเพื่อขึ้นบัญชีเบื้องต้น

ข้อมูลทั่วไป

ผืนป่าฮาลา-บาลานั้นประกอบไปด้วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติบางลาง 

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา อยู่ระหว่าง จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ประกอบด้วยป่าสองผืนคือ ป่าฮาลา และป่าบาลา ที่แม้จะไม่ใช่ผืนป่าที่ติดกันแต่ก็เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าร่วมกัน มีฉายาประจำป่าว่า “แอมะซอนแห่งอาเซียน” เพราะความหลากหลายของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งนี้
  • อุทยานแห่งชาติบางลาง อยู่ใน จ.ยะลา มีสภาพเป็นภูเขาสูงสลับกับที่ราบทุ่งหญ้า มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากการก่อสร้างเขื่อนบางลาง เป็นต้นกำเนิดของลำธารเล็ก น้อยที่ไหลมาเจอกันเป็นแม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรี และมีพืชท้องถิ่นที่หลากหลายชนิด

กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก

6. กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก

กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก ในอดีตเคยเป็นป่าดิบชื้น ที่มีความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์นานาชนิด และสัตว์ป่าที่หายาก แต่ในปัจจุบันสัตว์หลายชนิดกำลังสูญหายไปจากพื้นที่นี้ และกำลังสูญพันธุ์ไปจากโลก เช่น วัวแดง เสือโคร่ง หมาไน นากจมูกขน และเสือปลา 

สถานะการเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสกเป็นหนึ่งในสถานที่ที่อาจเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นประเทศไทย ต่อไปในอนาคต

ข้อมูลทั่วไป

กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสกประกอบไปด้วยอุทยานย่อย 6 แห่ง ดังนี้

  • อุทยานแห่งชาติเขาสก จ. สุราษฎร์ธานี เป็นป่าดิบชื้นขนาดใหญ่ มีภูเขาสูงต่ำสลับกัน อุดมไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด รวมถึงพืชพรรณที่หายากและเป็นพืชเฉพาะถิ่น เช่น บัวผุด ปาล์มเจ้าเมืองถลางหรือปาล์มหลังขาวและปาล์มพระราหู 
  • อุทยานแห่งชาติศรีพังงา จ. พังงา เป็นป่าดิบชื้น ที่มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ อย่าง ไม้ยาง ตะเคียนทอง ปาล์ม กระพ้อหนู และสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้ง นกเงือก
  • อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง จ. สุราษฎร์ธานี พื้นที่มีสภาพเป็นป่า มีเทือกซ้อนกันเป็นแนว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดชุมพร
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จ. สุราษฎร์ธานี เป็นป่าดิบชื้น ที่เป็นบ้านให้กับพืชไม้สำคัญ เช่น ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน สมอพิเภก กระท้อน หว้า หรือ ปาล์ม และเป็นบ้านของสัตว์หลายชนิด เช่น นกเงือก นกกก ชะนีมือขาว ค่างแว่นถิ่นใต้ จงโคร่ง ปลามังกร หรือ เต่าจักร
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน จ. สุราษฎร์ธานี ป่าผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งน้ำสำคัญอย่าง เขื่อนรัชชประภา พร้อมกับภูเขาดินดานและ หินทราย เป็นจุดกำเนิดของต้นน้ำคลองยัน
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จ. ระนอง มีน้ำตกสวยงามคือ น้ำตกพันเมตร และมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชน้ำธรรมชาติที่งดงาม อย่างพลับพลึงธาร เป็นเอกลักษณ์

ตะรุเตา

7. ตะรุเตา

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบไปด้วยหมู่เกาะกว่า 51 หมู่เกาะ โดยมีเกาะตะรุเตาเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด บริเวณเกาะจะมีกลุ่มปะการังหลากสี และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด 

สถานะการเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

ตะรุเตาเป็นหนึ่งในสถานที่ที่เคยเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นประเทศไทย โดยได้ไปเสนอในปีพ.ศ. 2534 และถอดในปีเดียวกัน

ข้อมูลทั่วไป

  • ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ในช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย
  • ตั้งอยู่ในในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
  • ติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา เบอร์ 074-783-597 หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวปากบารา เบอร์ 074-783-485
  • เปิดทำการทุกวัน
  • ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

ชวนดูหลักเกณฑ์ที่ทำให้สถานที่ในไทยได้เป็นมรดกโลก

มรดกโลกสามารถแบ่งออกได้เป็นสองแบบคือมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งการจะได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมจะใช้เกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ เช่น เรื่องของประวัติศาสตร์ สิ่งปลูกสร้าง ความอัศจรรย์ชาญฉลาดของมนุษย์ หรือความยิ่งใหญ่ในการวัด ในขณะที่เกณฑ์การได้เลือกเป็นมรดกทางธรรมชาตินั้นจะแตกต่างออกไป ได้แก่

  • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการสำคัญต่างๆ ในอดีตของโลก เช่น ในยุคไดโนเสาร์ ยุคน้ำแข็งที่สะท้อนให้เห็นพัฒนาการของโลก
  • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการแสดงขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ หรือเกษตรกรรมขั้นบันได 
  • เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หายากมีลักษณะเฉพาะตัว หรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น ป่า แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืช และสัตว์ที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยง แต่ยังคงมีสิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ รวมไปถึงระบบนิเวศที่น่าสนใจในเวทีโลกด้วย

ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติที่ได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกถึง 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ทางธรรมชาติที่สำคัญอีกหลายแห่ง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ซึ่งความสวยงามของสถานที่เหล่านี้ ควรค่าแก่การไปเยือนสักครั้ง สำหรับใครที่อยากจะลองไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ยังไม่รู้จะไปพักที่ไหนดี แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ท แอนด์ คันทรีคลับ มีบริการห้องพักหลากหลายรูปแบบ และบ้านพักวิลล่า ที่ตกแต่งอย่างหรูหรา พร้อมให้บริการ